วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553

คุยกันเล่นๆ(1)

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ thai medical guidelines ครับ

1.ผมจัดทำ blog นี้เพื่อเอาไว้ใช้ค้นคว้าอ้างอิง สำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วยของ นักศึกษาแพทย์-นิสิตแพทย์, แพทย์เพิ่มพูนทักษะ, แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป, แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และแพทย์อื่นๆอีกมากมาย(มีหลายสาขาเหลือเกิน) รวมทั้งพยาบาลเวชปฏิบัติและตัวผมเองด้วยครับ

2.Guidelines แปลว่า แนวทาง ไม่ใช้ข้อที่ต้องปฏิบัติ เพราะจำเป็นต้องประยุกต์ใช้ตามบริบทของโรงพยาบาลนั้นๆด้วย และผมต้องการให้ใช้เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย ไม่ใช่เอาไปอ้างเพื่อฟ้องแพทย์หรือพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยนั้น กรุณาใช้ให้ถูกต้องนะครับ

3.ผมพยายามจะรวบรวม guidelines ที่เป็นภาษาไทยก่อน แต่ก็คงต้องมี guidelines ของต่างประเทศบ้าง เพราะเราคงไม่มีครบทุกเรื่องทุกสาขา โดยระยะแรกคงเน้น guidelines ที่เป็นระดับราชวิทยาลัย, วิทยาลัย, สมาคม หรือ กลุ่มผู้เชียวชาญเฉพาะทาง ไม่รวมถึง CPG(Clinical Practice Guidelines)ของระดับโรงพยาบาล

4.เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านเวลาที่มีให้ และ ความสามารถทางด้าน computer ของผม ดังนั้นผมจึงต้องทำไป แก้ไขปรับปรุง blog ไป หากท่านพบข้อผิดพลาดหรือข้อบกพร่องใดๆที่สมควรแก้ไข ได้โปรดกรุณาบอกผมด้วย ไม่ว่าจะทาง comment หรือทาง e-mail dr.kookkik@gmail.com

ขอให้มีความสุขกับชีวิตการเป็นบุคลากรทางการแพทย์ครับ ^_^

1 ความคิดเห็น:

  1. อาจารย์มี guideline ของ benign prostatic hyperplasia ไหมครับ เว็บของราชวิทยาลัย uro เข้าไปหน้า clinical guideline ไม่ได้หละครับ

    ขอบคุณครับ

    ตอบลบ

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก